วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ที่มาที่ไป สาหร่ายGD1 แบบน้ำจิ้ม


สไปรูไลนา เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์หรือเป็นอาหารเสริมซึ่งผลิตจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสองชนิด คือ Arthrospira platensis และ Arthrospira maxima

ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดแก่สุขภาพ

สไปรูไลนามีฟีนิลอะลานีน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีอาการผิดปกติของเมตาโบลิซึม ที่ชื่อ ฟีนิลคีโตนูเรีย โดยร่างกายไม่สามารถเผาผลาญกรดอะมิโนชนิดดังกล่าวได้ ทำให้กรดอะมิโนไปสะสมอยู่ในสมอง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย] เนื่องจากสไปรูไลนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้วางระเบียบคุ้มครองและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สไปรูไลนาเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบหนึ่ง ซึ่งทราบกันว่ามีบางชนิดที่ผลิตพิษ อาทิ ไมโครซิสติน, BMAA และอื่น ๆ ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานใดมาวางระเบียบความปลอดภัยของสไปรูไลนา

การวิจัยสภาพแวดล้อมเทียม

สไปรูไลนาสกัดการถ่ายแบบเอชไอวี ในทีเซลล์ของมนุษย์, เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์เดียว (PBMC) และเซลล์แลงเกอร์ฮานส์
ในการศึกษาสภาพแวดล้อมเทียมใน พ.ศ. 2551 สรุปว่าสไปรูไลนาอาจมีคุณสมบัติคีเลชั่นอย่างเหล็ก เซลล์นิวโรบลาสโตมาของมนุษย์ถูกรักษาโดยเหล็กในปริมาณที่เป็นพิษ จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยสไปรูไลนา เมื่อรักษาแล้ว ภาวะอนุมูลอิสระเกิน (oxidative stress) ที่เกิดจากเหล็กนั้นก็ลดลง

การวิจัยในสัตว์

สไปรูไลนาช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart damamge) จากเคมีบำบัดโดยใช้ดอกโซรูบิซิน โดยไม่เข้าไปแทรกแซงกิจกรรมออกฤทธิ์ต้านเนื้องอกของยาเลย  สไปรูไลนายังลดความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและช่วยฟื้นฟูการควบคุมการเคลื่อนไหวหลังเกิดโรค ลดความเสื่อมถอยของความจำและการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับอายุ  ตลอดจนป้องกันและรักษาไข้ละอองฟาง
การศึกษาเมตาบอลิซึมในหนูชี้ว่า สไปรูไลนามีผลกระทบน้อยมากต่อเมตาบอลิซึมของพวกมัน และดังนั้นจึงอาจมีผลอย่างเดียวกันในมนุษย์ด้วย
การศึกษากับหนูที่ป่วยเบาหวาน สรุปว่า Spirulina maxima มีประสิทธิภาพในการแก้ไขเมตาบอลิซึมคาร์บอไฮเดรตและลิพิดที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดจากฟรักโทสเกินในร่างกาย
การศึกษา พ.ศ. 2553 สรุปว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสไปรูไลนาแสดงให้เห็นว่า ชะลออาการของระบบกล้ามเนื้อระยะเริ่มต้นและพัฒนาการของโรค ลดตัวชี้วัดสภาวะการอักเสบและเซลล์ประสาทสั่งการตายในหนูต้นแบบโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวิจัยในมนุษย์

ในเด็กโรคขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม พบว่าสไปรูไลนาเพิ่มน้ำหนักและแก้ไขภาวะโลหิตจางได้ ยังมีรายงานด้วยว่าสไปรูไลนาเป็นการบำบัดเมลาโนซิสและเคราโทซิสเนื่องจากการได้รับพิษสารหนูเรื้อรัง
การศึกษาใน พ.ศ. 2548 พบว่า สไปรูไลนาสามารถป้องกันไข้ละอองฟางได้  การศึกษาใหม่กว่าที่เป็นแบบปิดสองทางและมียาหลอกเป็นตัวควบคุม (double blind, placebo controlled) ใน พ.ศ. 2551 ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก 150 คน พบว่า Spirulina platensis สามารถลดการหลั่งอินเตอร์ลิวคิน-4 ที่เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบ ได้ 32% และผู้ป่วยมีอาการบรรเทาลง  ยิ่งไปกว่านั้น สไปรูไลนาถูกพบว่าลดการอักเสบที่เกี่ยวกับภาวะข้ออักเสบในผู้ป่วยสูงอายุ โดยกระตุ้นการหลั่งอินเตอร์ลิวติน-2 ซึ่งช่วยควบคุมการตอบสนองการอักเสบ
การศึกษา พ.ศ. 2550 พบว่า อาสาสมัคร 36 คนที่ได้รับสไปรูไลนา 4.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่าหกสัปดาห์ มีความเปลี่ยนแปลงในคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตอย่างสำคัญ คือ  ลดคอเลสตอรอลรวม เพิ่ม HDL คอเลสเตอรอลลดไตรกลีเซอไรด์ และ ลดความดันโลหิตทั้งขณะบีบและคลาย  อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม นักวิจัยจึงไม่อาจมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้นี่เป็นผลทั้งหมด หรือแม้กระทั่งบางส่วน ของการได้รับ Spirulina maxima ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแปรรบกวน (นั่นคือ ความตรงภายในและคุณลักษณะอุปสงค์) การศึกษาแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย และมีการแทรกแซงด้วยยาหลอก (randomized, double-blind, placebo-controlled intervention) ในผู้ป่วยสูงอายุพบว่า สไปรูไลนาช่วยลดอัตราส่วน LDL ต่อ HDL ลงอย่างมากหลังได้รับเป็นเวลาสี่เดือน
การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งใน พ.ศ. 2550 สรุปว่าสไปรูไลนาพัฒนาศักยะต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยสูงอายุหลายคนซึ่งได้รับการให้สไปรูไลนาเป็นเวลา 16 สัปดาห์ พลาสมาของผู้ป่วยเหล่านี้แสดงให้เห็นระดับที่เพิ่มขึ้นของสถานะต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาแบบปิดสองทางและมียาหลอกเป็นตัวควบคุมใน พ.ศ. 2549 พบว่า การให้สไปรูไลนาเป็นกสารเสริมลดปริมาณของเอตินไคเนส (ตัวชี้วัดภาวะการสูญเสียกล้ามเนื้อ) ในบุคคลหลังออกกำลังกาย ยิ่งไปกว่านั้น เวลาของกลุ่มทดลองที่จะเหนื่อยระหว่างการวิ่งบนสายพานเพิ่มขึ้น 52 วินาที ซึ่งผลกระทบเหล่านี้คาดกันว่าเป็นศักยะต้านอนุมูลอิสระของสไปรูไลนา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น